Tag Archives: วิธีการทำนาปลอดเคมีและความคิดปลูกข้าว แบบลดต้นทุน เพิ่มกำไร โดย ชัยพล

วิธีการทำนาปลอดเคมีและความคิดปลูกข้าว แบบลดต้นทุน เพิ่มกำไร โดย ชัยพล ยิ้มไทร ปริญญาทำนา

ได้ข้อมูล มาจาก เฟสบุ๊ค ของคุณ ชัยพล ยิ้มไทร

บทที่ 1 ไถนา
อุปกรณ์ประกอบไปด้วย รถไถเดินตาม ผาล เลื่อนนั่ง เครื่องตัวนี้ซื้อจากเชียงกง เป็นเครื่อง 10 แรงม้าซื้อมาตัวละ 16000 บาท รถไถซื้อจากร้านขายของเก่ากิโลละ 11บาท เป็นเงิน3240บาท ผาลก็มือสองราคา500 บาท การทำนาไม่จำเป็นต้องเริ่มจากของมือหนึ่งครับ ค่อย ๆหา ค่อย ๆซื้อ ครับ ค่อยเป็นค่อยไป ผมเองเริ่มจากทำนา 9 ไร่ และเครื่องมือราคาประหยัด

หลังจากที่ไถกลบฟางและใส่น้ำไว้สี่ถึงห้าวัน จึงเริ่มใช้ลูกควักพรวนดิน ที่เห็นต่อข้าวเขียว ๆคือ ควักไว้หนึ่งรอบ(ตลบ) และทิ้งไว้หนึ่งคืน ตรงดินดำ ๆคือรอบที่สอง(อีกหนึ่งตลบ) การทำนาไม่เผาฟาง ไม่ได้ยากอย่างที่คิด เพียงแต่ต้องใช้เครื่องมือให้เหมาะสมและให้เวลากับงานบ้างเท่านั้นเอง…ทำนาอย่างเร่งร้อนจนคนชั่วรุ่นหนึ่งกำลังจะจากไป..ไม่เห็นมีความมั่นคงในชีวิตสักที…มาทำช้า ๆกันดีกว่าใหมครับ ^__^” เผื่อชีวิตอาจดีขึ้น..

บทที่ 2 ควักดิน
หลังจากไถนาเสร็จแล้ว ให้ใส่น้ำจมขี้ไถไว้ เพื่อให้ขี้ไถนิ่ม(ยิ่งนานยิ่งดี จะทำให้ฟางเปื่อยและดินเละ) หากมีเวลาก็ควักสักสองรอบ(ตลบ)แล้วทิ้งไว้อีก ข้อดีของลูกควักคือ ทำให้ดินฟู(อุ้มน้ำดี)และลูกควักยังช่วยกระจายกลุ่มฟางที่แน่นหนาออกจากกัน ทำให้ไม่เกิดแก้สฟางเน่า เครื่องมือนี้ลดขั้นตอนการทำนาลงได้มาก ทำให้ดินกลายเป็นเทือกได้ไว้ขึ้น ข้อเสียคือ หนักกำลังเครื่องยนต์ และถ้ารถไถไม่แข็งแรงพอหรือดินเป็นหล่มจะหนักแรงเครื่องยนต์มาก รถไถอาจโซ่ขาดหรือเฟืองแตกได้ ควรลดขนาดวินเครื่องยนต์ลดอย่างน้อยครึ่งนิ้ว

ปล.นายแบบโดย @ท — กับ ทรงวุฒิ ยิ้มไทร

บทที่ 3 ย่ำเทือก
หลักการง่าย ๆ คือ ทำให้ดินที่ไถไว้และควักซื่งยังเป็นก้อน กลายเป็นน้ำเลน อุปกรณ์ที่ใช้มีทั้งลูกจิ้ม ลูกควัก คราด ย่ำไปเรื่อย ๆกระทั่งดินแตกตัว ฟู เทือกยิ่งหล่ม ข้าวยิ่งงาม ในภาพใช้คราดสองคัน และลูกควักหนึ่งคัน เพื่อเก็นงานตรงที่ดินแข็ง ๆ หรือเป็นที่ดอน

บทที่ 4 ลูบเทือก
อุปกรณ์ที่ใช้คือกระดานลูบเทือก หลังจากที่ควักดินจนฟูแล้ว ดินจะยังไม่เรียบ ต้องปรับหน้าดินโดยอุปกรณ์นี้ ให้พื้นเลนเรียบ ยามหว่าน เมล็ดข้าวจะได้ไม่จมน้ำ เพราะพื้นสม่ำเสมอ อุปกรณ์นี้ยังใช้ปรับระดับของดิน โดยดันเอาเลนจากที่ดอนลงไปที่ลุ่ม(เหยียบห้ากระดาน)

บทที่ 5 แช่ข้าว
นำกระสอบข้าวปลูกลงแช่ในน้ำ 24 ชั่วโมง ก่อนจะนำขึ้นมาไว้บนแห้งอีก 24 ชั่วโมง เพื่อให้ข้าวแตกตา และพร้อมสำหรับการนำไปหว่าน โดยปรกติผมจะแช่ข้าวในอ่าง แต่ที่นาไม่มีอ่างเลยใช้ไม้ไผ่สองอันพาดร่องน้ำ และใช้พลาสติกกันน้ำทำเป็นเปลอุ่มข้าวไว้อีกที ที่ต้องทำอย่างนี้เพราะต้องใส่เชื้อราไตรโครเดอร์ม่าลงไปตอนแช่ข้าวด้วย ในกระป๋องคือไตรโครเดอร์มาร์ที่เพาะเชื้อกับข้าวสุกและน้ำมาใส่น้ำขยำ ๆ ให้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าละลายออกมา(สปอร์) ประโยชน์คือ ราไตรโคเดอร์ม่าจะไปกินราชนิดอื่น ๆที่ทำให้ข้าวอ่อนแอ และช่วยสงเสริมการเจริญของตุ่มตาข้าว

อัตราการหว่านของผม ไร่ละยี่สิบกิโลครับ ต้นข้าวจะไม่หนาแน่นเกินไปแล้วข้าวจะแตกกอดี ไม่แย่งกันสูง ทำให้ไม่ล้มง่าย ช่วยให้แสงแดดส่องถึง โรคแมลงจะไม่รบกวน โดยเฉพาะฤดูกาลนี่เพลี้ยมักระบาด และผมใช้ข้าว กข 31 ซึ่งทนต่อเพลี้ยกระโดดสีน้้ำตาล กันไว้ดีกว่าแก้ครับ เริ่มให้ถูก วางแผนให้ดี แล้วการทำนาจะไม่ใช่เรื่องยากครับ ฝากไว้สักนิดครับ

หลังเสร็จงานในแต่ละวัน ควรเติมน้ำมันให้เต็มถัง เพื่อป้องกันสนิมในถังน้ำมัน ตรวจระดับน้ำมันเครื่อง เพิ่มน้ำมันในกรองอากาศ(แบบเปียก )ล้างรถไถและอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ เพื่อง่ายในการตรวจดูจุดหลวมคลอนต่าง ๆเช่นน็อต หรือรอยร้าวอันเกิดขึ้นได้ เช่นตามคอคราด หัวผาน ไม่ได้เก่งมาจากใหน แต่งานมันสอนผมครับ ^__^” ทั้งนี้ทั้งนั้นเพื่อความปลอดภัยนั่นเอง..

ครบ 100 ชั่วโมงทำงาน ทั้งเครื่องและคน ล้างกรองดีเซล กรองน้ำมันเครื่อง และกรองอาศและเติมน้ำมันในกรองอากาศ(แบบเปียก เท่านี้ เครื่องยนต์ก็จะไม่สึกหรอเร็วเกินไป

ตัวซ้ายเรียกตามประสาชาวบ้านว่าเครื่องพ่นลม(duster)ใช้งานได้สองอย่างทั้งพ่นละอองน้ำกับพ่นเมล็ดปุ๋ย,เมล็ดข้าวมันจะมีชุดดัดแปลงมาให้ราคา2500–3500บาทเป็นเครื่องจากจีนตัวขวาเรียกเครื่องปั้ม(sprayer)ใหม่ญี่ปุ่นราคา10,500 บาท ใช้มาสองปียังไม่เคยรวนครับ

อันนี้เรียก”เลื่อนนั่ง”ทำให้ไม่ต้องเดินตามรถไถ เหนื่อยน้องลง ใช้เหล็กแบนด้านล่างช่วยให้เบาแรงเครื่องขึ้นครับ เรื่องสัดส่วนเดี๋ยวจะวัดให้ครับ ที่นาไม่มีตลับเมตร เดี๋ยววัดให้ครับ

ผานหัวหมูมีสองแบบครับ แบบ ไถพุ่งกับไถแซะ อันนี้ของผมเป็นแบบไถแซะ หน้า 16 นิ้ว เบาแรงเครื่อง กลบฟางได้มิดและฟางไม่ค่อยติดคอผานเพราะขี้ไถจะถูกยกตัวในช่วงท้านของใบผาน(เรียกว่าใบเพล่) ข้อดีอีกอย่างคือขี้ไถจะหักเป็นข้อ ๆ ทำให้ย่ำเทือกง่านกว่าแบบไถพุ่ง

ลูกควัก อันนี้ของอาชัยพรครับ

ผาล สำหรับไถกลบฟางโดยเฉพาะ

คราดจัมโบ้ กว้าง 2.5 เมตร คอคราดยาว ช่วยให้ฟางติดน้อยลง ตาคราดยาว ช่วยกดฟางได้ลึกและเบาแรงเครื่องยนต์(ประหยัดน้ำมัน)

แนะนำหรับหรับคนที่ทำนาเยอะสักหน่อย ถ้ามีท่าสูบน้ำถาวร นี่เลยครับ เครื่อง daihatsu สามสูบ ดัดแปลงติดหม้อต้ม ใช้แก้ส ประหยัดค่าสูบน้ำไปกว่า 40 เปอร์เซน ข้อเสียคือต้องงรู้เรื่องระบบไฟพอควรและใช้ขอดน้ำออกจากนาไม่ได้เพราะรอบมันจัดครับ

ราคาเครื่องยนต์9000-12000แล้วแต่สภาพครับ ค่าหม้อต้ม 2000 แบ็ตอีกสองพันกว่าบาท อัตราสินเปลืองก็แล้วแต่เรื่องเครื่องครับ ยกตัวอย่างให้เห็นนะครับ ฤดูกาลที่แล้ว 143ไร่ค่าสูบน้ำของผม เป็นค้าน้ำมันหกหมื่นกว่าบาท ฤดูนี้หมดค่าแก้สไป สองหมื่นกว่าบาท+ค่าน้ำมันอีกหมื่นกว่าบาทครับ

ก็ได้เครื่องแก๊สนี่แหละ เชื้อเพลิงราคาถูกฤดูกาลนึงหมดไป45ถัง 14000 กว่าบาท น้ำมันใช้หมดไป 90000 กว่าบาท (เก้าหมื่นกว่าบาท) แล้วคุณๆจะเลือกอะไร ฮ่า ฮ่า