ลุงฟาง ทำนาโดยไม่ต้องทำนา

newsในอัลบั้ม “หากหัวใจยังรักควาย” ของวงคาราบาว เพลงชุดท้ายในแผ่นที่ 2 มีชื่อว่า “ลุงฟาง”
เพลงนี้เกิดมาจากการเรียบเรียงเรื่องราวของชายชาวญี่ปุ่นที่ชื่อมาซาโนบุ ฟูกูโอกะ ชายผู้ที่กลับคืนสู่วิธีธรรมชาติด้วยการทำนาโดยไม่ต้องทำนา เก็บเวลาไว้คุยกับตะวัน
ปฏิเสธไม่ได้ว่าเพลงนี้ทำให้หลายคนรู้จักมาซาโนบุ ฟูกูโอกะไม่ต่างจากหนังสือ “ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว” (ในชื่อภาษาไทย) ที่เขาเขียน
แต่ปัจจุบันศาสตร์ที่ว่าด้วยการ “ทำนา โดยไม่ต้องทำนา” นี้ ดูจะกลายเป็นวิถีที่ล้าหลังและโบราณไม่ต่างจากอายุของลุงฟาง
ในวันที่เทคโนโลยียกระดับขีดความสามารถไปข้างหน้าเพื่อสนองต่อความต้องการบริโภคจำนวนมากของคนบางกลุ่ม หลักปฏิบัติ 4 ข้อ ใจความสำคัญอันว่าด้วย (1) ไม่ไถพรวนดิน (2) ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี หรือทำปุ๋ยหมัก (3) ไม่จำกัดวัชพืช ไม่ว่าด้วยการถากถางหรือใช้ยากำจัดวัชพืช (4) ไม่ใช้สารเคมี ดูจะเป็นสิ่งไม่ทันกาล
เพราะถึงจะมีข้อดี (1. สมดุลทางธรรมชาติไม่ถูกทำลาย 2.) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อคนและสัตว์ 3.) สามารถปรับปรุงการเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมให้ดีขึ้น 4.) ได้ผลิตผลที่มีคุณภาพปราศจากสารพิษ 5.) ลดต้นทุนการผลิต และใช้แรงงานน้อย) แต่ก็มีสิ่งที่เป็นจุดอ่อนหรือข้อเสียเช่นกัน
1.) ต้องใช้เวลาในการศึกษาและทำความเข้าใจสภาพแวดล้อมและธรรมชาติ 2.) เห็นผลช้า ไม่รวดเร็วทันใจ 3.) เกษตรกรต้องมีความพยายามและมีความอดทน 4.) ผลิตผลไม่สวยงามเมื่อเทียบกับการเกษตรสมัยใหม่ 5.) ไม่สามารถผลิตเป็นการค้าได้ทีละมากๆ
ซึ่งข้อเสียที่ว่า ส่งผลบรรษัทให้ข้ามชาติ และในชาติหลายรายผลิตสารเคมี ปุ๋ย ยาฆ่าแมลงต่างๆ ออกมาเพื่อกระตุ้นการเติบโตของพืชผลให้แก่เกษตรกรออกขายสู่ตลอดอย่างทันท่วงที

news

ไม่ใช่ว่าจะเห็นนวัตกรรมนี้ว่าดีกว่า แต่สิ่งที่ว่าดีก็มีข้อเสียเหมือนกับที่การทำนาโดยไม่ต้องทำนามีข้อเสียเช่นกัน
กลางเดือนมกราคม ไทยตกเป็นข่าวใหญ่ในเวทีโลก เมื่อทางกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป (อียู) ได้ทำการระงับส่งออกสินค้าพืชผัก 16 ชนิด อาทิ กะเพรา โหระพา พริกขี้หนู ฯลฯ จากประเทศไทยเป็นการชั่วคราว เนื่องจากการตรวจพบว่าพืชผักที่ว่านั้นมีสารเคมีตกค้างจากการผลิต
หลังจากเกิดเรื่องนี้ขึ้น ผู้ใหญ่ในกระทรวงที่เกี่ยวข้องก็ออกมาประกาศกร้าวว่าต่อไปนี้จะตรวจสอบผู้ ส่งออกสินค้าทางการเกษตรอย่างจริงจัง ใครที่ส่งของผิดหลักคุณภาพมาจะถูกลงโทษอย่างเด็ดขาด
ถึงกระนั้นในเวลาเดียวเมื่อลองตรวจสอบลงในรายละเอียดก็พบเรื่องชวนตกใจ
ประเทศไทยใช้สารเคมีเพื่อการเกษตรสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก เรานำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชปีละเกือบ 140 ล้านกิโลกรัม คิดเป็นมูลค่านำเข้าประมาณ 17,000 ล้านบาท ในขณะที่รัฐบาลไทยอนุญาตให้มีการขึ้นทะเบียนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมากที่สุด ในโลกถึง 25,000 ชื่อ ส่วนมาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม อนุญาตให้ขึ้นทะเบียนพันกว่าชื่อเท่านั้น
สารเคมีที่ใช้กันมากใน ไทยอย่างคาร์โบฟูแรน (ยาฆ่าแมลง) ทางประเทศผู้ผลิตคือสหรัฐอเมริกาได้สั่งเลิกใช้แล้ว และทางกลุ่มประเทศอียูก็ได้ห้ามใช้และนำเข้าอย่างเด็ดขาด
จึงไม่แปลกที่ไทยจะต้องถูกแบนสินค้าส่งออกทางการเกษตร
ลองกลับมาดูใจความสำคัญของการทำนาโดยไม่ต้องทำนาใหม่อีกหน
1) ไม่ไถพรวนดิน 2) ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี หรือทำปุ๋ยหมัก 3) ไม่จำกัดวัชพืช ไม่ว่าด้วยการถากถางหรือใช้ยากำจัดวัชพืช 4) ไม่ใช้สารเคมี แท้จริงแล้วก็คือ “การแทรกแซงธรรมชาติของมนุษย์ให้เหลือน้อยที่สุด”
หรือจะเรียกว่าเป็นการทำเกษตรแบบดั้งเดิมก็ว่าได้
ลองดูเพิ่มเติมในข้อที่บอกว่าไม่ใช้สารเคมี มีคำอธิบายว่า
“เมื่อพืชอ่อนแอลงเพราะผลจากการปฏิบัติที่ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ ได้แก่การไถพลิกดิน การใช้ปุ๋ย เป็นต้นทำให้เกิดความไร้สมดุลของโรคพืช และแมลงก็กลายเป็นปัญหาใหญ่ในการเกษตร”
“ธรรมชาตินั้นหากปล่อยไว้ตามลำพังก็จะอยู่ในสภาพสมดุล แมลงที่เป็นอันตรายและโรคพืชมักมีอยู่เสมอแต่ในธรรมชาตินั้นมันจะไม่เกิดขึ้นจนถึงระดับที่ต้องใช้สารที่มีพิษเหล่านั้นเลย”
“วิธีการควบคุมโรคและแมลงที่เหมาะสมคือการปลูกพืชที่แข็งแรง ในสภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์”

นั้นเป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ว่า หลักการดังกล่าวไม่เพียงแต่จะฟื้นฟูดินและระบบนิเวศน์ในไร่นาให้กลับมีชิวิตชีวาพร้อมพรั่งดังเดิม หากยังเสริมสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้แก่พรรณไม้และพืชผล ทั้งในทางปริมาณและคุณภาพเหนือกว่าเกษตรกรรมแผนใหม่ซึ่งเน้นวิทยาการขั้นสูง
แล้ววันนี้เราจะยังจะกลับไปพึ่งพิงสารเคมีที่ผลต่อการทำลายธรรมชาติอีกทำไม

news

ใส่ความเห็น